ผู้นำกับการ "บริหาร"
การบริหาร คือ การจัดขบวนการเพื่อให้สามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ดี โดยผ่านผู้บริหาร ในภาษากรีกการบริหาร หมายถึง กัปตันเรือ หรือ ผู้ครอบครองเป็นคำเดียวกัน เพราะว่ากัปตันเรือมีหน้าที่ควบคุมดูแลและนำเรือไปให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย ดังนั้น กัปตันเรือย่อมต้องรู้เส้นทางเดินเรือและวิธีการควบคุมเรือให้ดีที่สุด รีลอย อิมส์ กล่าวว่า.การบริหารที่สำเร็จผลนั้น คือ
1. มีการวางแผนที่ดี
2. ทำงานนั้นด้วยความเต็มใจ
3. มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ว่า จะต้องเห็นความสำเร็จของงานที่ทำให้ได้
4. ต้องฟันฝ่าอุปสรรค และต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ
เมื่อเราบริหารเราต้องพึ่งการทรงนำไหม?
สิ่งนี้ผู้นำคริสเตียนที่เชื่อใหม่อาจยังไม่เข้าใจและสงสัยว่า เราควรจะเน้นชีวิตที่ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และการทรงนำ หรือความสามารถในการบริหารมากกว่ากัน ?
หากเราจะสังเกตุคุณสมบัติ 3 ประการที่พระคัมภีร์เน้นในการเป็นผู้บริหารงาน ในพระวัจนะของพระเจ้า ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ดังนี้
พระคัมภีร์เดิม อพย.18:21 | พระคัมภีร์ใหม่ กจ.6:3 |
1.มีความสามารถ 2.ยำเกรงพระเจ้า 3.ไม่กินสินบน | 1.สติปัญญา 2.ประกอบ 3.ชื่อเสียง |
ในที่นี้ ความเข้าใจในความสามารถ มี 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นของประทานจากพระเจ้า หรือของประทานด้านบุคลิคภาพ ด้านภาระใจ ตามโรม 12:6-8 และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ ก็จงเผยตามกำลังของความเชื่อถ้าเป็นการปรนนิบัติก็จงปรนนิบัติ ถ้าเป็นการสั่งสอนก็จงสั่งสอน ถ้าเป็นการเตือนสติก็จงเตือนสติ ถ้าเป็นการบริจาค ก็จงให้ด้วยใจกว้างขวาง ผู้ที่ครอบครอง ก็จงครอบครองด้วยเอาใจใส่ ผู้ที่แสดงความเมตตา ก็จงแสดงด้วยใจยินดี
ดังนั้น เราต้องจัดคนให้ทำงานที่เหมาะกับของประทานของแต่ละคน
2. เป็นความสามารถเฉพาะตัว หรือตะลันต์ที่เรามี เช่น ทักษะการนำ ความสามารถที่เรียนรู้มา หรือเรียกว่าพรสวรรค์ที่พระเจ้าประทานให้ ซึ่งเกิดจากการฝึกฝน การเรียนรู้ จนอาจกลายเป็นพรสวรรค์ หรือพรแสวง
3. อย่าเน้นคนที่มีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น
ก. ไม่เน้นชีวิตฝ่ายวิญญาณที่ดี แต่มีความสามารถเท่านั้น
ข. ไม่มีความสามารถ แต่มีชีวิตฝ่ายวิญญาณดีเท่านั้น
แท้จริง เราควรเน้นทั้ง 2 ด้าน แต่ถ้าหากไม่มีความสามารถ แต่มีชีวิตดี และยินดีที่จะเรียนรู้พัฒนาก็เป็นสิ่งที่ผู้นำควร พัฒนาบุคคลเหล่านี้อย่างจริงจัง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น